ติดตั้งโซล่าเซลล์ มุกดาหาร ที่ไหน คุณภาพดี ราคาไม่แพง ?


โปรโมชั่นโซล่าเซลล์

ปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง เนื่องจากโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังช่วยให้ประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือนได้ถึง 30-50% ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน

เมื่อก่อนจะเห็นว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์มักจะจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เท่านั้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ถูกลง และใช้เวลาติดตั้งไม่นาน จึงเป็นโอกาสให้ผู้บริการโภครายย่อย อย่าง ภาคครัวเรือน ชาวไร่ ชาวสวน ตลอดจนเกษตรกร สามารถที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้ในบ้าน ไร่ นา ฟาร์ม ต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าไฟในแต่ละเดือน

และนอกจากนั้นภาคการเกษตรที่ระบบไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง สามารถที่จะนำระบบโซล่าเซลล์ไปติดตั้งและพร้อมใช้ได้เลย สามารถรองรับการใช้แอร์ ตู้เย็น ปั้มน้ำ ระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ได้เทียบเท่าไฟบ้านเลยทีเดียว

>> คุณกำลังมองหาผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์อยู่ใช่ไหม ติดต่อเราได้เลย <<<

โซล่าเซลล์คืออะไร ?

โซล่าเซลล์ หรือ Solar Cell คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับและแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เราสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแสดงอาทิตย์ไปใช้ได้ทันที หรือจะจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ก็ได้ ซึ่งโซล่าเซลล์ยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบได้อีกด้วย เช่น ระบบออนกริด on grid ระบบออฟกริด off grid และระบบไฮบริด Hybrid นั้นเอง ผมจะอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไปนะครับ

ระบบโซล่าเซลล์มีกี่แบบ อะไรบ้าง?

ระบบโซล่าเซลล์มีอยู่ด้วยกัน 3 ระบบ ได้แก่

  • ระบบออนกริด on grid solar system
  • ระบบออฟกริด off grid solar system
  • ระบบไฮบริด hybrid solar system

1.ระบบออนกริด (On-grid)

ระบบออนกริดไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เนื่องจากระบบนี้จะเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยมีการใช้ไฟจากโซล่าเซลล์และไฟจากการไฟฟ้า ระบบนี้จะมีไฟใช้ตลอดเวลา เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าหรือไฟบ้าน จะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจาก solar cell ที่หายไปตลอดเวลา ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวัน สามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ทางผู้ใช้จะต้องทำสัญญากับทางภาครัฐตามขั้นตอน

ระบบนี้เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานโซล่าเซลล์ในเวลากลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

2.ระบบออฟกริด (Off-grid)

ระบบออฟกริดจะไม่เชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือต้องการใช้เพื่อสำรองไฟไว้ใช้เมื่อยามที่ไฟฟ้าดับ สามารถใช้ร่วมกับแบตเตอรี่หรือไม่ร่วมกับแบตเตอรี่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้งาน ในกรณีที่ใช้ร่วมกับแบตเตอรี่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ

กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และใช้ Inverter(อินเวอร์เตอร์) แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน และส่วนที่ผลิตเกินออกมาจะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ในเวลากลางคืนระบบก็จะใช้กระแสไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่

ระบบออฟกริด จำเป็นต้องอาศัยการคำนวณที่ถูกต้องของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในประจำวัน หรือแม้แต่ในฤดูที่มีแสงแดดน้อย ในกรณีที่แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุ ฝนตก ท้องฟ้ามืดครึ้ม

3.ระบบไฮบริด (Hybrid System)
ระบบนี้คือการนำเอาระบบออฟกริดและระบบออนกริดเข้ามารวมกัน ระบบไฮบริดนี้มีความเสถียรมาก เนื่องจากเสมือนมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง (โซล่าเซลล์ + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า) คอยช่วยกันจ่ายไฟ หน้าที่ของแบตเตอรี่จะมาช่วยสำรองพลังงาน เมื่อแผงโซล่าร์เซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อเข้ากับแบตเตอรี่

ส่วนอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่างๆ เมื่อระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเกินจากปริมาณใช้งานภายในบ้าน กระแสไฟฟ้าที่เกินนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่จนเต็มความจุก็จะหยุด และจะจ่ายไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ภายในบ้านอีกครั้ง ระบบนี้ยังมีการใช้งานที่น้อย เนื่องจากใช้เงินลงทุนและมีค่าซ่อมบำรุงสูง

ใครบ้างที่ควรติดตั้งโซล่าเซลล์?

ระบบอ๊อฟกริด (Off Grid) คือ ระบบปิด ที่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ โดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เลย ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆเข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง 

วิธีการ คือการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ มาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน ซึ่งก็สามารถเลือกว่าจะนำจ่ายไฟ ให้กับอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟ AC  ทั้งนี้

ข้อดีของการที่มีแบตเตอรี่ คือ สามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ใช้งานได้กรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current ) แต่ไฟฟ้าที่ได้จากแผง Solar Cell เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ( Direct Current ) ดังนั้น ก่อนนำไปใช้งานจึงต้องนำมาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสียก่อน โดยนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้ก็จะมีการสูญเสียจากการแปลงฯ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลงไป

ข้อดี/ข้อเสีย ของระบบอ๊อฟกริด (Off Grid)

ข้อดี คือ เป็นระบบที่ไม่ต้องง้อไฟจากการไฟฟ้าหลวงเลย สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้

ข้อเสีย คือ งบประมาณสูง เพราะต้องใช้แบตเตอรี่ มาใช้ในการเก็บไฟและต้องคำนวณการใช้ไฟให้ถูกต้อง เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าได้ต่อเนื่องตลอดเวลา

ระบบนี้เหมาะกับใคร

ระบบนี้เหมาะสำหรับพี้นที่ที่ไม่มีไฟใช้ หรือไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

ระบบออนกริด ( On Grid ) คือ การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ โดยการเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC)  ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ด้วยอุปกรณ์ Inverter จากนั้นก็เชื่อมระบบเข้ากับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งข้อดีคือเราสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับการไฟฟ้าฯ (ตามโครงการขายไฟให้การไฟฟ้า ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า หากผลิตกระแสไฟไม่พอใช้ อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทนทันที

วิธีการการติดตั้งแบบนี้ เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยเมื่อมีการใช้ไฟ มากกว่าที่ผลิตเองจากโซลาร์เซลล์ ตัวอุปกรณ์ Grid Tie Inverter ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ก็จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะทำให้ลดค่าไฟฟ้าลงได้และไม่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังไฟไม่พอ เพราะดึงจากการไฟฟ้ามาชดเชย แต่การติดตั้งแบบนี้ต้องได้รับการอนุญาตจาก การไฟฟ้าฯก่อน แต่ข้อเสียของระบบนี้ คือ ช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือเวลากลางคืน ก็จะไม่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาซึ่งช่วนี้ก็จะต้องตึงพลังงานไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ

ข้อดี/ข้อเสีย ออนกริด ( On Grid )

ข้อดี สามารถลดค่าไฟฟ้า หรือใช้ไฟฟ้าฟรี (หากใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก) เนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้เองในตอนกลางวัน ใช้ไฟฟ้าฟรี ลดค่าไฟฟ้าได้ สำหรับผู้ประกอบการติดตั้งระบบไฟขนาดใหญ่ สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ โดยติดต่อการไฟฟ้า จะต้องสมัครทำสัญญาและยื่นเอกสาร ตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ข้อเสีย กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบโซลาร์เซลล์ยังจ่ายไฟปกติ แต่กริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงาน โดยไม่จ่ายไฟเข้าสายส่ง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ซึ่งกำลังทำการซ่อมระบบสายไฟฟ้า    การใช้งานระบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว ใช้เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้ที่ต้องการติดตั้ง ต้องมีพื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน โดยดูจากหน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่เสียค่าไฟฟ้าแต่ละเดือน เพื่อออกแบบกำลังการผลิตระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ หาขนาดกริดไทอินเวอร์เตอร์ และจำนวนแผงโซลาร์เซลล์

ระบบนี้เหมาะกับใคร

การใช้งานระบบนี้ เหมาะสำหรับสถานที่มีไฟฟ้าใช้ ต้องการประหยัดค่าไฟ หรือลดค่าไฟฟ้า และไม่ควรติดตั้งตัวใหญ่เกินการใช้งาน เนื่องจากไฟที่เหลือใช้ จะจ่ายคืนให้กับการไฟฟ้า(นำไปขายให้บ้านอื่น) ทางการไฟฟ้าจะไม่คำนวณเงินคืนให้ แต่จะคิดเงินเฉพาะส่วนที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้า

ระบบไฮบริดส์ ( Hybrid ) คือระบบที่นำเอาข้อดีของ ระบบออนกริด และ ระบบออฟกริด มารวมไว้ในระบบเดียวกัน 

ข้อดีของระบบไฮบริดหลัก ๆ ก็คือ

ช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้า

ช่วยสำรองไฟฟ้าไว้ให้คุณใช้ตอนกลางคืนและในยามจำเป็น

ช่วยเสริมเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้าที่คุณใช้อยู่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น

ระบบไฮบริดช่วยเราลดค่าไฟได้ เช่นเดียวกับระบบออนกริด เนื่องจากระบบจะทำการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ และ ยังนำไฟฟ้าส่วนหนึ่งไปชารจ์ไว้ที่แบตเตอร์รี่ เพื่อเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้เช่นเดียวกับระบบออฟกริด ทำให้เรามีไฟฟ้าสำรองเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น ในกรณีที่ไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับเราก็จะมี

ไฟฟ้าส่วนหนึ่งไว้ใช้เพื่อความอุ่นใจ ระยะเวลาของการใช้ไฟฟ้าสำรองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ปริมาณแบตเตอร์รี่ที่เรามี ว่าเหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่ไฟฟ้าดับหรือไม่ เบื้องต้นแนะนำว่าเราควรเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่จำเป็นจริงๆในช่วงไฟฟ้าดับ

วิธีการ

หลักการทำงานคือเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายัง ไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ ซึ่งไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ก็แปลงแป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่าง ๆ ในเวลากลางวันเมื่อผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ระบบก็จะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรา แต่หากกระแสไฟฟ้าที่เราผลิตได้ไม่เพียงพอ ก็จะไปดึงไฟจากแบตเตอรี่ หรือการไฟฟ้าฯ มาใช้งานได้ โดยอัตโนมัติ (ซึ่งเราสามารถตั้งค่าได้ที่ตัว ไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์) หรือหากเราผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มามากกว่าที่เราใช้งานระบบก็นำกระแสไฟฟ้านี้ไปชาร์จแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้าใช้งานต่อไป

ในเวลากลางคืนที่เราไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ ที่ตัวไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ สามารถตั้งค่าได้ว่าจะเอาไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งานก่อนจนหมดแล้วค่อยนำไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้ามาใช้งาน ซึ่งทำให้เราประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ และหรือบางท่านอาจกลัวว่าแบตเตอรี่จะเสื่อมเร็วเกินไป ก็สามารถตั้งค่าให้ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเป็นอันดับแรกก่อน หากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าขัดข้องจึงไปนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้งาน ก็ได้

ข้อดี/ข้อเสีย ระบบไฮบริดส์ ( Hybrid )

ข้อดี ระบบทำงานได้ทั้งแบบ on-grid และ off-grid สามารถเปลี่ยนแหล่งไฟฟ้าได้เองตามสถานการณ์ ช่วยรักษาความเสถียรของระบบไฟฟ้า และใช้ไฟได้เองภายในกรณีไฟจากการไฟฟ้าดับ

ข้อเสีย อินเวอร์เตอร์ชนิดนี้มีให้เลือกน้อยมาก และยังไม่ได้รับการยอมรับจากการไฟฟ้า (กฟผ.) เลยไม่สามารถขนานไฟฟ้ากับกริดได้ ไม่สามารถขายไฟคืน กฟผ. ได้ ต้องใช้อุปกรณ์มากเช่นเดียวกับ off-grid ซึ่งทำให้ระบบโดยรวมแพง และไม่คุ้มค่า

ระบบนี้เหมาะกับใคร

ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานที่ ที่ต้องการลดค่าไฟฟ้ารายเดือน สถานที่ที่ไฟฟ้าดับบ่อย ไฟไม่นิ่ง ไฟตก ไฟเกินเป็นประจำ

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

สำหรับคนที่สนใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ต้องเผื่อเวลาทำเรื่องขออนุญาตจากหน่วยราชการก่อนการติดตั้ง ทำให้มีระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนติดตั้ง

  1. ยื่นขออนุญาตสำนักงานเขต เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคารในการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยจะต้องมีแบบคำนวณโครงสร้างของวิศวกรโยธาแนบมาด้วย
  2. ยื่นการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) โดยต้องมีแบบ Single Line Diagram ที่เซ็นรับรองด้วยวิศวกรไฟฟ้า พร้อมทั้งติดตั้งเครื่อง Zero Export ป้องกันการไหลย้อนกลับไปที่มิเตอร์
  3. ยื่นกรมกำกับพลังงาน เพื่อขออนุญาตใช้โซล่าเซลล์อย่างเป็นทางการ

ติดตั้งโซล่าเซลล์เองได้ไหม?

โซล่าเซลล์มีหลายขนาด หากผู้ใช้มีความรู้ระบบโซล่าเซลล์ดีอยู่แล้ว สามารถดำเนินการติดตั้งเองได้เลย แต่หากไม่ได้มีความรู้แต่อย่างใด จำเป็นจะต้องให้ผู้เชียวชาญเฉพาะทางมาทำการติดตั้งให้ จะปลอดภัยกว่าการทำด้วยตัวเอง ทั้งนี้ยังมีโซล่าเซลล์อีกแบบที่ผู้บริโภคสามารถซื้อไปใช้งานได้ทันที เช่น โซล่าเซลล์ชุดนอนนา ไฟทางเดินโซล่าเซลล์ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้จะถูกจัดเซตมาให้พร้อมใช้งานเรียบร้อย เพียงทำตามข้อมูลไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น

สนใจติดตั้งโซล่าเซลล์ ติดต่อสอบถามผู้ให้ บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ จังหวัดมุกดาหาร เลือกช่องทางติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ




 

คำค้นหายอดนิยม: 

จำหน่ายโซล่าเซลล์

รับติดตั้งโซล่าเซลล์

ร้านโซล่าเซลล์ ใกล้ฉัน

อุปกรณ์ โซล่าเซลล์

โปรโมชั่นโซล่าเซลล์
รับติดตั้งโซล่าเซลล์
รับติดตั้งโซล่าเซลล์